naruto

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผลกระทบจจากการสร้างเขื่อน

ผลกระทบจากการสร้างเขื่อน

1.สูญเสียพื้นที่ป่า
2.ผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่ต้องย้ายที่อยู่ใหม่
3.ที่ใดที่สร้างเขื่อน พื้นที่รอบๆ เขื่อนจะถูกบุกรุกเพื่อทำการเกษตร


ผลกระทบของการสร้างเขื่อน

 1. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • ผลกระทบต่อพื้นที่ เนื่องจากการสร้างเขื่อน เป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างขวางลำน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลมาสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อน จนเป็นผลให้ที่ดิน บริเวณเหนือ เขื่อนถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งที่ดินเหล่านั้นส่วนมากเป็นป่าธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้สูญเสีย ทรัพยากรดินตามไปด้วย นอกจากนี้เมื่อ พิจารณาถึง พื้นที่ท้ายเขื่อนพบว่า แร่ธาตุที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศ ไม่สามารถมาสู่พื้นท้ายน้ำได้ เนื่องจากถูกกัก โดยเขื่อนส่งผล ให้พื้นที่ท้าย เขื่อนขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน
  • การสูญเสียสัตว์ป่าในการสร้างเขื่อนในตอนเริ่มต้นเมื่อปริมาณ น้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่สูง เช่น ภูเขาจะกลายเป็นเกาะ แก่ง ซึ่งการดำรงชีวิต ของสัตว์ป่ามักเคยชินกับพื้นที่เดิม และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อย หากหนีไม่ทันก็จะล้มตาย หากหนีทัน ก็จะถูกล้อมรอบ ในพื้นที่จำกัด และเมื่อพื้นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน ทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามฝูงได้ และการผสมพันธุ์ในฝูงเดียวกันทำให้ รุ่นต่อไปมีลักษณะด้อยและอ่อนแอ
  • การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแหล่งน้ำ เนื่องจากในระบบนิเวศเดิม พันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ จะเป็นปลาที่ดำรงชีพในแหล่งน้ำไหล แต่เมื่อสร้างเขื่อน แล้วเสร็จนั้นปลาที่ชอบระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่งสามารถขยาย พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ปลาที่ชอบ ระบบนิเวศ ที่มีน้ำไหลก็จะลดปริมาณลง ทำให้ระบบนิเวศในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปลาบางชนิด อาจสูญพันธุ์ไป จากแหล่งน้ำ นั้นเลยก็ได้
2. ผลกระทบด้านสังคม
การที่พื้นที่แปรสภาพไปเป็นอ่างเก็บน้ำ ทำให้ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ถูกน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องอพยพ ชาวบ้านออกนอก พื้นที่แล้วจัดหาที่อยู่ และที่ทำกินให้ใหม่ โดยมากเป็นการย้ายถิ่นฐาน ไปในบริเวณที่ใกล้กับชุมชนอื่น ทำให้เกิดความรู้สึก แปลกแยก ออกจากสังคมใหม่ และพื้นที่ทำกิน ที่ได้รับมาใหม่อาจ ไม่เหมาะสมต่อกา รทำกินประเภทเดิม เช่น สภาพที่ดิน แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้ สภาพวัฒนธรรม ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
3. ผลกระทบด้านสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแหล่งน้ำจากพื้นที่ที่มีน้ำไหล เป็นน้ำนิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปภายหลัง การสร้างเขื่อน เรามักพบโรคที่มักจะมากับ ระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ โรคมาเลเรีย โรคเท้าช้าง และโรคพยาธิใบไม้เลือด เนื่องจากพาหะนำโรคทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ ยุงลาย ยุงดำและหอยทาก สามารถ แพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ภายหลังการสร้างเขื่อน จำเป็นต้องดูแลระบบสุขาภิบาล ระบบชลประทาน และแหล่งน้ำ เพื่อบริโภคเป็นอย่างดี เพื่อป้องกัน การระบาดของโรคเหล่านี้
4. ผลกระทบจากการท่องเที่ยว
4.1. กรณีของการนำออกจากระบบของสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวนำทรัพยากรออก นอกระบบสิ่งแวดล้อม เช่น การดำเนินกิจกรรมตกปลา หรือล่าสัตว์ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ในกรณีการส่งเสริม ให้มีการตกปลาห รือล่าสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว และเป็นที่นิยม ย่อมมีผลกระทบ โดยตรงต่อ ปริมาณสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเป็น การตัดวงจรและห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะอย่างสัตว์พันธุ์ที่หายากในระบบนิเวศ ก็จะเป็นที่ตกปลา หรือล่าสัตว์ ทำให้สูญพันธุ์ได้โดยง่าย

4.2. กรณีของการนำเข้าจากภายนอกระบบสู่สิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาเขื่อน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จำเป็นต้องสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน และบริการใน การรองรับนักท่องเที่ยว เช่น ที่พักแรม สถานที่ ประกอบ กิจกรรมและนันทนาการ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้น ถ้าเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางธรรมชาติ ย่อมมีผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น การเปลี่ยนดังมี ทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นในการพัฒนาการท่องเที่ยว ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะต้องคำนึง ถึงประโยชน์ที่ได้รับภายใต้การสูญเสียที่น้อยที่สุด

4.3. กรณีของการใช้ทรัพยากร ในระบบ การใช้ทรัพยากรทั้งในกรณี เพื่อการดำรงชีวิต และในการรองรับของเสียที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ แหล่ง ท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการจัดการ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ต้องคำนึงถึงขีด ความสามารถ ในการรองรับของระบบ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวัง อาจส่งผลให้ระบบเสียสมดุล หรืออาจสูญเสีย หรือสูญพันธุ์ ก็ได้ถ้าทรัพยากร นั้นเป็นทรัพยากร ที่ไม่อาจ ฟื้นคืนสภาพได้ เช่น สัตว์ป่า หรือแร่ธาตุต่างๆ ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิด สามารถฟื้นฟูได้ก็ตาม แต่อาจเสื่อมคุณภาพ ได้หากมีการใช้ทรัพยาก รอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น แหล่งน้ำ ดิน อากาศเป็นต้น   

 

3 ความคิดเห็น: